วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เเบบทดสอบภาษาไทย ม.3 จุดประสงค์ที่3

<HTML>
<HEAD>
   <meta name="description" content="เเบบทดสอบ">
   <meta name="keywords" content="เเบบทดสอบ">
   <title>แบบทดสอบเรื่อง การเขียนเพื่อการสื่อสาร 1 จำนวน 10 ข้อ</title>
   <meta http-equiv="Content-Type" content="text/html; charset=windows-874">
   <style type="text/css"> a {color: #0000FF; text-decoration: none} a:hover
      {color: #FF0000; text-decoration: underline} </style>
   <style type=text/css>body {padding-right : 0px; padding-left : 20px;
     padding-bottom : 0px; margin : 0px; padding-top : 0px }</style>

<SCRIPT LANGUAGE="JavaScript">
var speechstr='"';
 var A1= new String
var A2= new String
var A3= new String
var A4= new String
var A5= new String
var A6= new String
var A7= new String
var A8= new String
var A9= new String
var A10= new String
var CkAns=0

function MarkAnswers()
{
   var i=0
   t=10
   info="toolbarno,location=no,directories=no,directories=no,status=no,menubar=no,height=400,width=400,"
   info+="scrollbars=yes,resizable=yes"
   Answers=window.open("","msgWindow",info)
   Answers.opener=window;
   Answers.name="opener";
   Answers.document.clear;
   Answers.document.write("<HEAD><TITLE>ตรวจคำตอบ...</TITLE></HEAD>");
   CkAns=CkAns+1;
   if (A1.toLowerCase()=="4")
   {
      i=i+1;
   }
   if (A2.toLowerCase()=="2")
   {
      i=i+1;
   }
   if (A3.toLowerCase()=="4")
   {
      i=i+1;
   }
   if (A4.toLowerCase()=="1")
   {
      i=i+1;
   }
   if (A5.toLowerCase()=="1")
   {
      i=i+1;
   }
   if (A6.toLowerCase()=="1")
   {
      i=i+1;
   }
   if (A7.toLowerCase()=="2")
   {
      i=i+1;
   }
   if (A8.toLowerCase()=="2")
   {
      i=i+1;
   }
   if (A9.toLowerCase()=="3")
   {
      i=i+1;
   }
   if (A10.toLowerCase()=="2")
   {
      i=i+1;
   }
   Answers.document.write("<BODY BGCOLOR=#B6F88B ALINK=#0080C0 LINK=#0080C0 VLINK=#0080C0>");
   Answers.document.write("<p align=Left><B><FONT SIZE=3 FACE="+speechstr+"MS Sans Serif"+speechstr+" COLOR=#0033CC>ตรวจคำตอบ...ครั้งที่ "+CkAns.toString()+"</B></FONT></p>");
   Answers.document.write("<p align=Left><B><FONT SIZE=3 FACE="+speechstr+"MS Sans Serif"+speechstr+" COLOR=#0033CC>คุณได้คะแนน "+i.toString()+" / "+t.toString()+"</B></FONT></p>");
   var currentGrade=new String
   var currentComment=new String
   currentGrade=""
   currentComment=""
   if (i>=0)
   {
      currentGrade="F";
      currentComment=" แย่จังทำไม่ได้เลย !";
   }
   if (i>=5)
   {
      currentGrade="D";
      currentComment=" ทำได้น้อยมาก ควรปรับปรุง";
   }
   if (i>=6)
   {
      currentGrade="C";
      currentComment=" ทำได้ไม่เลวเลย อยู่ในระดับพอใช้";
   }
   if (i>=7)
   {
      currentGrade="B";
      currentComment=" อยู่ในระดับดีมาก !";
   }
   if (i>=8)
   {
      currentGrade="A";
      currentComment=" เก่งมากคุณยอดเยี่ยมที่สุด !";
   }
   Answers.document.write('<p align=center><form name="form2"><input type="button" value="ปิดกรอบตรวจคำตอบ" name="Close1" ONCLICK="window.close()"></form></p>');
   Answers.document.write('<p align=center><b><B><FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#0033CC><font size=1><a href="http://www.kr.ac.th" target="_blank">http://www.kr.ac.th</a></font></B></FONT></b></p>');
}
</SCRIPT>
</HEAD>
<BODY BGCOLOR=#FFFFFF ALINK=#0080C0 LINK=#0080C0 VLINK=#0080C0>
<br>
<center><B><FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#0033CC>วิชาภาษาไทย (รหัส ท 23101) ระดับ มัธยมศึกษาปีที่3<BR>
เรื่อง การเขียนเพื่อการสื่อสาร 1 จำนวน 10 ข้อ<br>
โดย  ด.ช นาวิน สมบัติศรีกุล โรงเรียนผาเเดงวิทยา<br>
คำสั่ง เลือก หรือ เลือกคลิกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด</B></FONT></center>
<form name="form1" ONSUBMIT="MarkAnswers()">
<HR align=Left WIDTH=95%>
   <B><FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#0033CC>ข้อที่ 1)</B></FONT><br><B><FONT SIZE=3 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000>  ข้อใดคือคุณสมบัติของผู้เขียนที่ดี</B></FONT><br>
   <FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000>&nbsp;&nbsp;&nbsp;<input type="radio" name="R1" ONCLICK="A1='1'">ฟังมาก</FONT><br>
   <FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000>&nbsp;&nbsp;&nbsp;<input type="radio" name="R1" ONCLICK="A1='2'">มีคลังคำ</FONT><br>
   <FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000>&nbsp;&nbsp;&nbsp;<input type="radio" name="R1" ONCLICK="A1='3'">อ่านมาก</FONT><br>
   <FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000>&nbsp;&nbsp;&nbsp;<input type="radio" name="R1" ONCLICK="A1='4'">ถูกทุกข้อ</FONT><br>
<HR align=Left WIDTH=95%>
   <B><FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#0033CC>ข้อที่ 2)</B></FONT><br><B><FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000> ข้อใดเป็นการเขียนอวยพร</B></FONT><br>
   <FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000>&nbsp;&nbsp;&nbsp;<input type="radio" name="R2" ONCLICK="A2='1'">จงเชื่อในความดี</FONT><br>
   <FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000>&nbsp;&nbsp;&nbsp;<input type="radio" name="R2" ONCLICK="A2='2'">ขอให้มีความสุข</FONT><br>
   <FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000>&nbsp;&nbsp;&nbsp;<input type="radio" name="R2" ONCLICK="A2='3'">ซ่าโดนใจ</FONT><br>
   <FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000>&nbsp;&nbsp;&nbsp;<input type="radio" name="R2" ONCLICK="A2='4'">จงทำดี</FONT><br>
<HR align=Left WIDTH=95%>
   <B><FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#0033CC>ข้อที่ 3)</B></FONT><br><B><FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000> คำขวัญมีลักษณะอย่างไร</B></FONT><br>
   <FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000>&nbsp;&nbsp;&nbsp;<input type="radio" name="R3" ONCLICK="A3='1'">ข้อความสั้นๆไพเราะ</FONT><br>
   <FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000>&nbsp;&nbsp;&nbsp;<input type="radio" name="R3" ONCLICK="A3='2'">ข้อความที่เป็นคำแนะนำ</FONT><br>
   <FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000>&nbsp;&nbsp;&nbsp;<input type="radio" name="R3" ONCLICK="A3='3'">ข้อความที่ส่งเสริมให้ทำความดี</FONT><br>
   <FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000>&nbsp;&nbsp;&nbsp;<input type="radio" name="R3" ONCLICK="A3='4'">ข้อความสั้นๆ ที่มีพลังในการโน้มน้าวใจ</FONT><br>
<HR align=Left WIDTH=95%>
   <B><FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#0033CC>ข้อที่ 4)</B></FONT><br><B><FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000> ข้อใด ไม่ใช่ ลักษณะของคำคม</B></FONT><br>
   <FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000>&nbsp;&nbsp;&nbsp;<input type="radio" name="R4" ONCLICK="A4='1'">ชวนเชื่อ</FONT><br>
   <FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000>&nbsp;&nbsp;&nbsp;<input type="radio" name="R4" ONCLICK="A4='2'">แหลมคม</FONT><br>
   <FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000>&nbsp;&nbsp;&nbsp;<input type="radio" name="R4" ONCLICK="A4='3'"> ชวนให้คิด</FONT><br>
   <FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000>&nbsp;&nbsp;&nbsp;<input type="radio" name="R4" ONCLICK="A4='4'">เป็นความจริง</FONT><br>
<HR align=Left WIDTH=95%>
   <B><FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#0033CC>ข้อที่ 5)</B></FONT><br><B><FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000> " ชุ่มคอโดนใจ" เป็นงานเขียนประเภทใด</B></FONT><br>
   <FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000>&nbsp;&nbsp;&nbsp;<input type="radio" name="R5" ONCLICK="A5='1'">คำคม</FONT><br>
   <FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000>&nbsp;&nbsp;&nbsp;<input type="radio" name="R5" ONCLICK="A5='2'">คำขวัญ</FONT><br>
   <FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000>&nbsp;&nbsp;&nbsp;<input type="radio" name="R5" ONCLICK="A5='3'"> โฆษณา</FONT><br>
   <FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000>&nbsp;&nbsp;&nbsp;<input type="radio" name="R5" ONCLICK="A5='4'">คำแนะนำ</FONT><br>
<HR align=Left WIDTH=95%>
   <B><FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#0033CC>ข้อที่ 6)</B></FONT><br><B><FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000> สุนทรพจน์หมายความว่าอย่างไร</B></FONT><br>
   <FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000>&nbsp;&nbsp;&nbsp;<input type="radio" name="R6" ONCLICK="A6='1'">คำกล่าวที่ดีงาม ไพเราะมีแนวคิด</FONT><br>
   <FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000>&nbsp;&nbsp;&nbsp;<input type="radio" name="R6" ONCLICK="A6='2'">คำกล่าวที่ถูกต้องตามหลักความจริง</FONT><br>
   <FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000>&nbsp;&nbsp;&nbsp;<input type="radio" name="R6" ONCLICK="A6='3'">คำกล่าวที่สัมผัสคล้องจองไพเราะ</FONT><br>
   <FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000>&nbsp;&nbsp;&nbsp;<input type="radio" name="R6" ONCLICK="A6='4'">คำกล่าวที่กล่าวในที่ประชุม</FONT><br>
<HR align=Left WIDTH=95%>
   <B><FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#0033CC>ข้อที่ 7)</B></FONT><br><B><FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000> ชีวประวัติเป็นงานเขียนประเภทใด</B></FONT><br>
   <FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000>&nbsp;&nbsp;&nbsp;<input type="radio" name="R7" ONCLICK="A7='1'">บทความ</FONT><br>
   <FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000>&nbsp;&nbsp;&nbsp;<input type="radio" name="R7" ONCLICK="A7='2'">สารคดี</FONT><br>
   <FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000>&nbsp;&nbsp;&nbsp;<input type="radio" name="R7" ONCLICK="A7='3'">เรื่องสั้น</FONT><br>
   <FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000>&nbsp;&nbsp;&nbsp;<input type="radio" name="R7" ONCLICK="A7='4'">บันเทงคดี</FONT><br>
<HR align=Left WIDTH=95%>
   <B><FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#0033CC>ข้อที่ 8)</B></FONT><br><B><FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000> ชีวประวัติที่กล่าวถึงด้านดีเพียงด้านเดียวเป็นชีวประวัติประเภทใด</B></FONT><br>
   <FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000>&nbsp;&nbsp;&nbsp;<input type="radio" name="R8" ONCLICK="A8='1'">แบบสดุดี</FONT><br>
   <FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000>&nbsp;&nbsp;&nbsp;<input type="radio" name="R8" ONCLICK="A8='2'">แบบรอบวง</FONT><br>
   <FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000>&nbsp;&nbsp;&nbsp;<input type="radio" name="R8" ONCLICK="A8='3'">แบบประเมินค่า</FONT><br>
   <FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000>&nbsp;&nbsp;&nbsp;<input type="radio" name="R8" ONCLICK="A8='4'">แบบจำลองลักษณ์</FONT><br>
<HR align=Left WIDTH=95%>
   <B><FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#0033CC>ข้อที่ 9)</B></FONT><br><B><FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000> ข้อใดคือหลักสำคัญที่ช่วยในการเขียนย่อความ</B></FONT><br>
   <FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000>&nbsp;&nbsp;&nbsp;<input type="radio" name="R9" ONCLICK="A9='1'">รูปแบบการย่อ</FONT><br>
   <FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000>&nbsp;&nbsp;&nbsp;<input type="radio" name="R9" ONCLICK="A9='2'">การรู้จักสังเกต</FONT><br>
   <FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000>&nbsp;&nbsp;&nbsp;<input type="radio" name="R9" ONCLICK="A9='3'">การถอดคำประพันธ์</FONT><br>
   <FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000>&nbsp;&nbsp;&nbsp;<input type="radio" name="R9" ONCLICK="A9='4'">การจับใจความสำคัญ</FONT><br>
<HR align=Left WIDTH=95%>
   <B><FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#0033CC>ข้อที่ 10)</B></FONT><br><B><FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000>  ถ้านักเรีนต้องการเขียนจดหมายเรียนเชิญวิทยากรมาบรรยายในหัวข้อที่กำหนด ภาษาที่ใช้ในการเขียน ควรมีลักษณะอย่างไร</B></FONT><br>
   <FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000>&nbsp;&nbsp;&nbsp;<input type="radio" name="R10" ONCLICK="A10='1'">ข้อความสั้นกะทัดรัด  ไม่เยิ่นเย้อ</FONT><br>
   <FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000>&nbsp;&nbsp;&nbsp;<input type="radio" name="R10" ONCLICK="A10='2'">ใช้ภาษาฟุ่มเฟือย แต่อ่านเข้าใจง่าย</FONT><br>
   <FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000>&nbsp;&nbsp;&nbsp;<input type="radio" name="R10" ONCLICK="A10='3'">ภาษาแผน  ใช้ศัพท์วิชาสูง ๆ</FONT><br>
   <FONT SIZE=2 FACE="MS Sans Serif" COLOR=#000000>&nbsp;&nbsp;&nbsp;<input type="radio" name="R10" ONCLICK="A10='4'">  ภาษากึ่งแบบแผนหรือแบบแผน  สร้างความประทับใจให้รับเชิญยินดีทำตามคำขอ</FONT><br>
<HR align=Left WIDTH=95%>
   <p></p><p align=center><input type="button" value="ตรวจคำตอบ" name="markbtn" ONCLICK="MarkAnswers()"></p><br>
</form>
</body>
</html>

วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 2 มองโลกจากวรรณกรรม


  บทที่ 2                   มองโลกอย่างวรรณกรรม

                 "การโน้มน้าวใจในโฆษณาบางเรื่อง       


            ใช้กลวิธีเร้าความรู้สึกให้เกิดอารมณ์ร่วมกับคนอื่นๆ                             ที่เป็นคนส่วนใหญ่ เช่นการโน้มน้าวใจให้รักชาติ                                      
         ห่วงใยสิ่งแวดล้อม  เห็นใจคนจน ฯลฯ"


     การโฆษณาสินค้าหรือบริการในสื่อต่าง ๆ บางรายการอาจบอกกล่าวตรง ๆ บางรายการเสนอเป็นละครฉากสั้น ๆ   มีตัวละครแสดง บางรายการแสดงในลักษณะทำให้เห็นสิ่งที่เกินจริงหรือตลกขบขัน     บางรายการก็เสนอภาพที่สับสน  วุ่นวาย การโฆษณามีจุดมุ่งหมายสร้างความสนใจให้ผู้คนสะดุดตา สะดุดใจ และจดจำสินค้าหรือบริการที่โฆษณา ผู้สร้างโฆษณาอาจใช้วิธีการต่างๆ ในการส่งสาร เช่น บอกตรง ๆ ว่าช่วยกันรักษาแม่น้ำเจ้าพระยาให้สะอาด หรือใช้คำที่คล้องจองกัน ใช้คำที่กระตุ้นให้เกิดความประทับใจ เช่น แค่ทิ้งคนละชิ้น  เจ้าพระยาก็สิ้นแล้ว  การใช้คำว่า “สิ้น” สะกิดอารมณ์ผู้ฟัง ให้ตระหนักถึงผลเสีย ใคร ๆ ก็อยากจะ “เริ่ม” มากกว่า “สิ้น” และถ้าเจ้าพระยา ซึ่งเป็นแม่น้ำเส้นเลือดใหญ่ของประเทศไทย
“สิ้น” แล้วคนไทยจะอยู่อย่างสุขสบายต่อไปอย่างไร คนที่ฟังแล้วคิดต่อ ก็จะได้รับ “สาร” จากบทโฆษณานี้ 

   การโน้มน้าวใจในโฆษณาบางเรื่อง ใช้กลวิธีเร้าความรู้สึกให้เกิดอารมณ์ร่วมกับคนอื่น ๆ  ที่เป็นคนส่วนใหญ่ เช่น การโน้มน้าวใจให้รักชาติ ห่วงใยสิ่งแวดล้อม เห็นใจคนจน ฯลฯ แต่บางเรื่องเกี่ยวกับคนบางกลุ่มเท่านั้น เช่น นักศึกษา นักธุรกิจ พ่อแม่  ฯลฯ ไม่สามารถจะเร้าความรู้สึกของ “คนนอก” ด้วยวิธีของ “รักเจ้าพระยา” ได้ จึงต้องใช้กลวิธีอื่น เช่น การสร้างอารมณ์หรรษา  
     
             การสร้างอารมณ์หรรษาในบทโฆษณา อาจใช้กลวิธีเดียวกับบทละครหรือนวนิยาย เพียงแต่เจาะลงที่ฉากหนึ่งและให้จบเบ็ดเสร็จในตอนสั้น ๆ องค์ประกอบที่เหมือนกันมีเนื้อเรื่อง ตัวละคร ฉาก บทสนทนา แนวคิด เป็นต้น แต่สิ่งที่จะขาดไม่ได้ คือศิลปะ  ถ้านับว่าวรรณกรรมคืองานประพันธ์ที่สื่อความรู้สึกนึกคิดอย่างมีศิลปะ  ศิลปะในที่นี้หมายถึง การเลือกรูปแบบ การสรรคำ การแสดงออก การทำให้ผู้ชมงานศิลปะเกิดความหยั่งเห็น เป็นต้น โฆษณาบางชิ้นก็เป็นวรรณกรรมได้
         โฆษณาดี ๆ หลายบทดูเพลิน น่าติดตามยิ่งกว่าตัวรายการเสียอีก   ยิ่งถ้าได้   “อ่าน” โฆษณาอย่างวรรณกรรม ก็จะได้เห็นอะไรหลายๆ อย่าง
            
โฆษณาดี ๆ มีสารที่จรรโลงใจให้ผู้ดูได้หยั่งเห็นและฉุกคิดอยู่มากเหมือนกัน เช่นเรื่องความรับผิดชอบ ความผูกพันระหว่างพ่อแม่และลูกกับญาติผู้ใหญ่ เป็นต้น ความเข้าใจของลูกตัวน้อย ๆ เป็นแรงใจให้พ่อแม่ได้เป็นอย่างดี เช่น พ่อลูกขับรถกลับบ้านในยามค่ำ ลูกถามพ่อว่าทำไมต้องทำงานหนักด้วย พ่อบอกว่า จะได้ซื้อบ้านใหญ่ ๆ ให้ลูก  เผอิญรถต้องเบรกกะทันหันเห็นอันตรายจ่ออยู่ตรงหน้าแล้ว
ลูกจึงตอบว่า เราอยู่บ้านเล็ก ๆ ก็ได้ เท่ากับบอกว่าหนูเป็นห่วงพ่อ อย่าทำงานหนักมมากจนเกินไป เพื่อสิ่งนี้เลย เจ้าของสินค้าได้ประโยชน์ถึง ๒ ทาง  ทางหนึ่งมีผู้รับรู้ว่าสินค้ามีคุณภาพอีกทางหนึ่งช่วยสร้างสำนึกที่ดีในใจผู้เป็นลูก
                            

             ตัวอย่างของความรู้สึกดี ๆ อีกเรื่องหนึ่งคือ ความภูมิใจในตัวพ่อแม้จะมีอาชีพที่ใครๆ มองว่าสามัญมาก เด็กชายคนหนึ่งบอกเพื่อน ๆ ถึงอาชีพของพ่อและยังยืนยันกับพ่อว่า โตขึ้นเขาจะประกอบอาชีพอย่างพ่อ เพราะทึ่งในฝีมือการทำงานของพ่อซึ่งพ่อบอกว่าเป็นเคล็ดลับ  ยิ่งทึ่งหนักขึ้นไปอีกเมื่อพ่อ
บอกลูกว่าได้เคล็ดลับมาจากปู่ มรดกที่พ่อได้จากปู่ ไม่ใช่ทรัพย์สินเงินทอง แต่เป็นกลเม็ดที่ทำให้เป็นช่างฝีมือเหนือใคร มรดกนี้เด็กชายก็กำลังจะได้รับจากพ่ออีกต่อหนึ่ง จึงน่าภูมิใจยิ่งนัก  ดูโฆษณาอย่างนี้แล้วสบายใจ อิ่มใจเหมือนได้อ่าน หนังสือดี ๆ เรื่องหนึ่ง     ถ้าผู้สร้างโฆษณาตั้งอกตั้งใจ พิถีพิถัน และมีรสนิยมอย่างนี้มาก ๆ ก็คงจะดี
           ข้อคิดจากเรื่อง
โฆษณาที่มีศิลปะ ควรนับเป็นวรรณกรรมได้ โดยเฉพาะโฆษณาที่เลือกรูปแบบการโน้มน้าวที่น่าสนใจ มีการสรรคำ มีการนำเสนอที่ชวนให้ติดตาม โฆษณาทำหน้าที่เหมือนวรรณกรรมได้ โดยเฉพาะการสะท้อนภาพสังคม โฆษณาที่ดีมีสารจรรโลงใจ ทำให้ได้รับข้อคิดที่เป็นประโยชน์หรือทำให้สบายใจ เช่น โฆษณากระตุ้นให้ตระหนักถึงความรับผิดชอบเรื่องรักษาสภาพแวดล้อม การอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือโฆษณาที่ชี้ให้เห็นความผูกพันระหว่างสมาชิกในครอบครัว เป็นต้น
      เรียนรู้เรื่องโฆษณา
โฆษณาเป็นการสื่อสารโน้มน้าวใจประเภทหนึ่ง มุ่งจูงใจเพื่อประโยชน์ในการขายสินค้าและบริการต่าง ๆ ทั้งยังจูงใจให้ผู้รับสารประพฤติปฏิบัติตามความมุ่งหมายของผู้โฆษณาด้วย
      ส่วนประกอบของโฆษณา  
        โฆษณามีส่วนประกอบที่สำคัญคือ เนื้อหา รูปแบบการนำเสนอ ภาษาที่ใช้และการโน้มน้าวใจ                                                                                                                   ๑. เนื้อหา ชี้ให้เห็นแต่ความดีพิเศษของสินค้า การบริการ หรือกิจกรรมที่โฆษณา
๒. รูปแบบการนำเสนอโฆษณามีรูปแบบต่างๆเช่น เป็นคำขวัญ ข้อความสั้น ๆ บทสนทนา ตำนาน นิทาน เป็นต้น
๓. ภาษาโฆษณา โฆษณาจะใช้ทั้งคำพูดและภาษาที่สื่อด้วยสิ่งอื่นๆเช่น ท่าทาง รูปภาพเป็นต้น ในโฆษณามักจะใช้ใช้ถ้อยคำแปลกใหม่ สะดุดหู สะดุดตา สะดุดใจ ใช้ประโยคหรือวลีสั้นๆ
๔.การโน้มนาวใจ การโน้มน้าวใจของโฆษณามีหลายวิธีเช่น ๔.๑อ้างสถิติบุคคลหรือองค์กร ๔.๒ ตอบสนองธรรมชาติพื้นฐานของมนุษย์ซึ่งห่วงใยสุขภาพ ความปลอดภัย  ความสุข 
ความมั่นคงในชีวิต


        ประโยชน์
โทษของการโฆษณา
      โฆษณามีทั้งประโยชน์และโทษ ประโยชน์ของโฆษณา คือ  
เปิดโอกาสให้คนทั่วไปได้รู้จักสินค้าหลายประเภท ทำให้มี
โอกาสเลือกสินค้าหรือบริการที่เหมาะสมหรือตรงตามความต้องการ การบริการที่สะดวก ให้ข้อคิดที่เป็นประโยชน์ เช่น การรักษาสิ่งแวดล้อม รู้จักประหยัด   และรู้จักกาลเทศะ                                            โทษของโฆษณา เช่น  คำโฆษณาที่เกินจริงทำให้เข้าใจผิด รือหลงผิดไปตามคำโฆษณาที่มุ่งแต่จะขายสินค้าหรือบริการเท่านั้น ทำให้ตัดสินใจ
 เสนอค่านิยมที่ผิด ๆ เช่น การใช้ความรุนแรงเพื่อให้ได้สินค้าที่ต้องการ การพูดปดหลอกลวงเพื่อให้ได้ของของผู้อื่น การกระทำที่ผิดมารยาทของวัฒนธรรมไทย  
     โฆษณาอาจสะท้อนภาพสังคมในนนนแต่ละสมัยได้ โฆษณาบางเรื่องอาจแสดงให้เห็นค่านิยมที่เปลี่ยนไปของสังคมไทย  โฆษณาบางเรื่องสะท้อนให้เห็นการเปลี่ยแปลงของค่านิยมของสังคมไทยไปในทางที่ไม่ดีงามไม่เหมาะสม เช่น ผู้หญิงเปิดเผยเนื้อตัวมากขึ้น ไม่สงวนท่าทีไม่สนใจผู้ชายและบางครั้งกล้าแสดงความสนใจฝ่ายชายก่อน โฆษณาในปัจจุบันยังนิยมให้เด็กๆโดยเฉพาะเด็กวัยรุ่นเป็นสื่อในการโฆษณา บางครั้งให้เด็กทำตัวเกินวัยในเรื่องการมีคู่

        อิทธิพลของภาษาโฆษณา
ผู้คิดภาษาโฆษณา พยายามสรรคำที่กระชับ เข้าใจง่าย มีความเปรียบที่ชัดเจน และสามารถสื่อความหมายได้ตรงกับคุณสมบัติของสินค้าและบริการบางครั้งจึงไม่เคร่งครัดในเรื่องภาษา จะต้องใช้ภาษาแบบที่เคยใช้มาแต่เดิมเช่น อาจนำคำที่ไม่เคยปรากฏร่วมกันมาเรียงอยู่ด้วยกัน เช่น นำคำว่า โดน มาใช้กับคำว่า ใจ เป็นโนใจ เพื่อสื่อความหมายว่า ประทับใจอย่างมาก ตรงตามความต้องการอย่างยิ่ง การใช้ภาษาโดยไม่มีกรอบที่เคยใช้ ทำให้เกิดผลสำคัญ ๒ ประการ มีผลดังนี้
๑. ทำให้เกิดความสร้างสรรค์ภาษาที่มีความงามระดับวรรณศิลป์ เช่น คำขวัญโฆษณา
เที่ยวเมืองไทย ไม่ไปไม่รู้ มีลักษณะทางวรรณศิลป์คือ ใช้คำง่าย กระชับ สื่อความหมายกว้างขวางลึกซึ้งคำว่า เที่ยว-ไปมีเสียงสัมผัสพยัญชนะ/ท/ คำว่าเมือง-ไม่ มีสัมผัสพยัญชนะ/ม/ คำว่า ไท-ไม่ ไปมีเสียงสัมผัสสระ ไอ คำว่า ไม่ไปไม่รู้ มีจังหวะของคำที่สมดุล ใช้คำปฏิเสธ ไม่ ร่วมกับคำกริยา ไป และ รู้ ตามลำดับนอกจากนี้ คำว่า เที่ยว ไป และ รู้  ยังสื่อความหมายที่ลึกซึ้งว่า การท่องเที่ยวคือ การเดินทางไปให้ได้พบสิ่งใหม่เพื่อจะได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ที่มีค่า


๒.เป็นแบบอย่างที่ให้คนในสังคมใช้ตามจนเกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นกับภาษา เช่น เกิดคำใหม่ วลีใหม่ สำนวนใหม่ซึ่งไม่เคยมีใครใช้มาก่ินในขณะเดียวกันคำ วลี และสำนวนซึ่งมีความหมายใกล้เคียงกันและใช้มาแต่เดิมเริ่มนิยมใช้น้อยลง เช่น เมื่อคนในสังคมใ้ช้คำว่า โดนใจ แทนคำว่า ประทับใจ ถูกใจ ถูกต้องแล้วครับ แทนคำว่า ถูก เมื่อใช้ไปนาน ๆ ก็จะเป็นภาษาที่เปลี่ยนไปได้ในที่สุด อาจทำให้คนที่อยู่ต่างสมัยกันเข้าใจคำคำเดียวกันไปคนละทาง


ที่มา:http://jame-m3.blogspot.com เรื่อง มองโฆษณษอย่างวรรณกรรม

กลอนสุภาพ


กลอนสุภาพ



                                                                                            

      จำเรียงรักษ์อักษรผ่านกลอนกาพย์
เพราะซึ้งซาบรสกวีศรีสยาม
"สุนทรภู่"ครูกลอนกระฉ่อนนาม
ทั่วเขตคามใครอ่านซ่านอารมณ์
ทั้งแว่วหวานตาลหยดจนมดไต่
โอดอาลัยโศกเศร้าเคล้าทุกข์ถม
ไหลลดเลี้ยวทะเล้นล้อโลมลม
พอกเพาะบ่มสั่งสอนแทรกซ้อนธรรม
เสริมคติชี้นำย้ำให้คิด
เมื่อชีวิตตกยุคทุกข์กระหน่ำ
บอกสาเหตุเจตนาพาระกำ
คนอ่านนำประยุกต์ใช้ได้ทุกครา
ยอดนิราศปราชญ์นิทานคนขานกล่าว
จินตกวีเรื่องราวจนกังขา
ไม่เคยพบไม่เคยเห็นเป็นบุญตา
กลับเกิดมาชี้ชัดปัจจุบัน
ซึ้งพระคุณครูกลอนที่สอนศิษย์
จึงอุทิศใจกายหมายมุ่งมั่น
สืบอักษรกลอนครูอยู่นิรันดร์ 
แพร่วงวรรณศาสตร์ศิลป์ทั่วถิ่นไทย

ครูภาทิพ มิถุนายน ๒๕๔๘

วันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ภาษาไทย ม.3 บทที่5 เพลงนี้มีประวัติ

                                                     
                            
                                   เพลงนี้มีประวัติ
                          
                           
                             "โอ้ละน้อ   ดวงเดือนเอย
                     
                        ข้อยมาเว้า        รักเจ้าสาวคำดวง
                 โอ้ดึกเเล้วหนอ    พี่ขอลาล่วง
                       อกพี่เป็นห่วง  รักเจ้าดวงเดือนเอย"
         
เพลงนี้มีประวัติ

             
 เพลง ลาวดวงเดือน อันเเสนไพเราะอ่อนหวานเพลงนี้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหมื่นพิชัยไชยมหินทโรดม มีพระนามเดิม ว่า พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์
                เหตุที่ทำให้ทรงนิพนธ์เพลงลาวดวงเดือนขึ้นมีว่า ราวปี พ.ศ.๒๔๔๖
เมื่อมีพระชันษา ๒๑ ปี พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์  ได้เสด็จขึ้นไป
นครเชียงใหม่   ได้พบรักกับเจ้าชมชื่น  ธิดาของเจ้าราชสัมพันธวงศ์กับ
เจ้าคำกล่าวกันว่าเป็นรักครั้งเเรกที่ไม่อาจทรงหักห้ามพระทัยได้
จึงทรงขอให้พระยานริศราชกิจ
                 พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์เข้าทรงานในกระทรวงเกษตราธิการ
ทรงรับผิดชอบการเลื้ยงไหม  เป็นเหตุให้ต้องเสด็จไปตรวจเยี่ยมศูนย์
การทำไหมในมณฑลต่าง
                  เพลงนี้ได้รับความนิยมตั้งเเต่เเรก  แต่หลังจากที่พระองค์
    เพลงลาวดวงเดือน เป็นเพลงไทยอมตะ อันไพเราะจับใจคนไทยทั้งชาติมานานจนทุกวันนี้ และจะเป็นเพลงอมตะ คู่ชาติไทยสืบไป แต่เบื้องหลังของเพลงมีความเศร้าอันลึกซึ้งแอบแฝงอยู่ ซึ่งน้อยคนนักที่จะได้ทราบ

ผู้ประพันธ์เพลงนี้ คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม หรือพระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงศ์ พระโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๕ และเจ้าจอมมารดามงกุฎ ประสูติเมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๔๒๕

พระองค์เจ้าชายเพ็ญ ได้เสด็จไปทรงศึกษาในประเทศอังกฤษเมื่อเสด็จกลับมาแล้วทรงเข้ารับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยปลัดทูลฉลองกระทรวงเกษตราธิการ ใน พ.ศ. ๒๔๕๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม

กรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม ทรงสนพระทัยดนตรีไทยเป็นอย่างมาก เมื่อเสด็จกลับจากอังกฤษแล้ว ทรงโปรดให้มีวงปี่พาทย์วงหนึ่ง เรียกกันว่า วงพระองค์เพ็ญ นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเล่นดนตรีได้หลายเครื่อง และยังทรงเป็นนักแต่งเพลงที่สามารถ พระองค์หนึ่ง โดยได้ทรงแต่งเพลง ลาวดวงเดือน ซึ่งเป็นที่นิยมแพร่หลายทั้งในอดีตและปัจจุบัน

ในปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นสมัยที่ดนตรีไทย โดยเฉพาะปี่พาทย์ได้รับความนิยมแพร่หลาย ตามบ้านท่านผู้มีบรรดาศักดิ์ และวัดวาอาราม ต่างก็มีวงปี่พาทย์เป็นประจำกันมากมาย เจ้านายหลายพระองค์ก็มีวงปี่พาทย์ประจำวัง มีครูบาอาจารย์ไว้ฝึกสอนปรับปรุงคิดประกวดประขันกันอย่างเอาจริงเอาจัง เช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ก็มีวง วังบูรพา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ก็มีวง วังบางขุนพรหม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารก็มีวงปี่พาทย์ชื่อว่า วงสมเด็จพระบรม และพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นพิชัมหินทโรดม ก็มีวงปี่พาทย์วงหนึ่งของพระองค์เรียกว่า วงพระองค์เพ็ญ ซึ่งแต่ลงวงล้วนแต่มีนักดนตรีที่มีฝีไม้ลายมือยอดเยี่ยมทัดเทียมกัน กรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม นอกจากจะทรงสนพระทัยในวงปี่พาทย์ของพระองค์ เยี่ยงเจ้านายท่านอื่นๆแล้ว ยังทรงเป็นนักแต่งเพลงชั้นดี พระองค์หนึ่งด้วย ทรงคิดประดิษฐ์ทำนองเพลงใหม่ๆ แปลกๆอยู่เสมอ พระองค์ทรงโปรดท่วงทำนองลีลาของเพลง ลาวดำเนินทราย เป็นอันมาก เพราะเพลงนี้เป็นเพลงสำเนียงลาวอันอ่อนช้อยนุ่มนวล เห็นภาพพจน์บรรยายกาศของภูมิประเทศ และวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ

ใน พ.ศ. ๒๔๔๖ พระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงศ์เพิ่งสำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษมาใหม่ ได้ทรงเสด็จขึ้นไปเที่ยวนครเชียงใหม่ อันเป็นนครแห่งศูนย์กลางวัฒนธรรมล้านนาสมัยนั้น สมัยนั้นพระยานริศราชกิจเป็นข้าหลวงใหญ่อยู่ประจำมณฑลพายัพ ได้จัดการรับเสด็จต้อนรับพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงค์ อย่างสมพระเกียรติ โดยเจ้าหลวงอินทวโรรสสุริยะวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้จัดการรับเสด็จอย่างประเพณีชาวเหนือโดยแท้ โดยให้ประทับในคุ้มหลวงและเสวยพระกระยาหารแบบขันโตก มีการแสดงละครและดนตรีในคุ้มนี้ด้วย ในงานต้อนรับเสด็จครั้งนี้ เจ้าอินทวโรรสแลเเจ้าแม่ทิพยเนตรได้ชวนเชิญเจ้าพี่เจ้าน้อง และพระญาติวงศ์มาร่วมรับเสด็จโดยพร้อมเพียงกัน ในบรรดาพระญาติวงศ์เจ้านายเชียงใหม่ ปรากฏว่ามี เจ้าราชสัมพันธวงศ์และเจ้าหญิงคำย่น พร้อมด้วยธิดาองค์โต นามว่า เจ้าหญิงชมชื่น อายุเพิ่งย่างเข้า ๑๖ ปี มาร่วมในงานนี้ด้วย เล่ากันว่าเจ้าหญิงชมชื่นมีผิวพรรณผุดผ่องเป็นนวลใย ใบหน้าอิ่มเอิบเปล่งปลั่งดุจพระจันทร์วันเพ็ญ มีเลือดฝาดขึ้นบนใบหน้า จนแก้มเป็นสีชมพู เพราะผิวขาวประดุจงาช้างอยู่แล้ว อีกทั้งเจ้าหญิงชมชื่นเป็นกุลสตรีที่เรียบร้อยอ่อนหวานน่ารัก เจรจาด้วยกระแสเสียงอันไพเราะ ด้วยความงามอันน่าพิศวงประกอบกับความน่ารักนุ่มนวลละมุนละไมจนเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว

พระองค์เจ้าเพ็ญ พัฒนพงศ์ เจ้าชายหนุ่มอายุ ๒๑ ปี บังเกิดความสนพระทัยในดรุณีแน่งน้อย อายุ ๑๖ ปีนี้มาก กล่าวกันว่า พระองค์เมื่อได้เห็นเจ้าหญิงชมชื่นก็ถึงกับทรงตะลึง ในความงามอันน่าพิศวงจนเกิดความพิสมัยขึ้นในพระทัยเหมือนกับชายหนุ่มพบคนรักครั้งแรก!!


ในวันต่อมา พระยานิรศราชกิจ ข้าหลวงมณฑลพายัพ เป็นผู้นำพระองค์ไปเยี่ยมเจ้าราชสัมพันธวงศ์ถึงคุ้มหน้าวัดบ้านปิง เจ้าหญิงชมชื่นได้มีโอกาสต้อนรับพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นักเรียนนอกผู้สำเร็จการศึกษาจากอังกฤษพระองค์นี้หลายครั้งหลายหน

นานวันเข้าพระองค์เจ้าชายเพ็ญก็ยิ่งเกิดความปฏิพัทธ์หลงใหลในเจ้าหญิงชมชื่นเป็นยิ่งนัก พระองค์จึงโปรดให้ข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพเป็นเฒ่าแก่เจรจาสู่ขอเจ้าหญิงชมชื่น ให้เป็นหม่อมของพระองค์

แต่การเจรจาสู่ขอกลับได้รับการทัดทานจากเจ้าราชสัมพันธวงศ์ โดขอผัดผ่อนให้ เจ้าหญิงชมชื่นอายุครบ ๑๘ ปี เสียก่อน และตามขนบธรรมเนีมประเพณีของราชสกุลนั้น พระเจ้าลูกเธอพระองค์ใดจะทำการอภิเษกสมรส จะต้องได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระมหากษัตริย์เสียก่อน เพื่อได้รับเป็นสะใภ้หลวงได้รับยศและตำแหน่งตามฐานะ หากถวายเจ้าหญิงชมชื่นให้ในตอนนี้ เจ้าหญิงก็จะตกอยู่ในฐานะภรรยาน้อยหรือนางบำเรอเท่านั้น

เฒ่าแก่ข้าหลวงใหญ่ยอมจำนนต่อเหตุผลของเจ้าสัมพันธวงศ์ นำความผิดหวังกลับมาทูลให้พระองค์ชายทราบ พระองค์ชายก็ได้รับความผิดหวังครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิต เพราะเมื่อจะมีรักครั้งแรกทั้งทีก็มีกรรมบันดาลขัดขวางไม่ให้รักสมหวังไม่ได้เชยชมสมใจ ความทุกข์โศกใดจะเทียมเทียบเปรียบปาน

เมื่อผิดหวังก็ต้องเสด็จกลับกรุงเทพด้วยความร้าวรานพระทัย คงปล่อยให้เชียงใหม่เป็นนครแห่งความรักและความหลังของพระองค์

ครั้นถึงกรุงเทพ เรื่องการสู่ขอเจ้าหญิงเมืองเหนือได้แพร่สะพัดไปในหมู่พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชบริพารผู้ใกล้ชิด เจ้านาชั้นผู้ใหญ่หลาพระองค์ทรงทัดทานอย่างหนักหน่วง โดยอ้างเหตุผลต่างต่าง นานา

เป็นอันว่า ความรักของพระองค์ประสบความผิดหวังอย่างสิ้นเชิงทุกประการ

คราใดสายลมเหนือพัดมา... พระองค์ชายของเราก็แสนเศร้ารันทดใจครานั้น... เศร้าขึ้นมาคราใด พระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงศ์ ก็เสด็จไปฟังดนตรีตามวังเจ้านายต่างๆ ทั้ง วังสมเด็จ วังบูรพา และวังบางขุนพรหม ทุกครั้งที่ทรงสดับดนตรีและทรงดนตรีพระองค์จะโปรดเพลง ลาวเจริญศรี เป็นพิเศษ เพราะเป็นเพลงที่นอกจากจะมีความไพเราะอ่อนหวานแล้วยังมีบทร้องที่ว่า

อายุเยาวเรศรุ่นเจริญศรี
พระเพื่อนพี่แพงน้องสองสมร
งามทรงงามองค์อ่อนซ้อน
ดังอัปสรหยาดฟ้าลงมาเอย



บทร้องนี้ ทำให้พระองค์หวนรำลึกถึงโฉมอันงามพิลาส ของเจ้าหญิงชมชื่นผู้เป็นที่รัก พระองค์จึงทรงระบายความรักความอาลัยของพระองค์ ลงในพระนิพนธ์บทร้อง ลาวดวงเดือน เพื่อเป็นที่ระลึกถึงเจ้าหญิงผู้เป็นเจ้าหัวใจ ดังนี้...

โอ้ละหนอ... ดวงเดือนเอย ข้อยมาเว้า รักเจ้าสาวคำดวง
โอ้ดึกแล้วหนอ ข้อยขอลาล่วง อกพี่เป็นห่วง รักเจ้าดวงเดือนเอย
ขอลาแล้ว เจ้าแก้วโกสุมภ์ ข้อยนี้รักเจ้าหนอขวัญตาเรียม
จะหาไหนมาเทียม เจ้าดวงเดือนเอย
หอมกลิ่นเกสร เกสรดอกไม้ หอมกลิ่นคล้ายคล้ายเจ้าสูของเรียมเอย
หอมกลิ่นกรุ่นครัน หอมนั้นยังบ่เลย เนื้อหอมทรามเชย....เอ๋ย..เราละหนอ

โอ้ละหนอ นวลตาเอย ข้อยนี้รัก แสนรักดังดวงใจ
โอ้เป็นกรรมต้องจำจากไป อกอาลัยเจ้าดวงเดือนเอย
เห็นเดือนแรม เริดร้างเวหา ข้อยเบิ่งดูฟ้า (ละหนอ) เห็นมืดมน
พี่จะทนทุกข์...ทุกข์ทน เจ้าดวงเดือนเอย
เสียงไก่ขันขาน มันหวานเจื้อยแจ้ว ช่างหวานสุดแล้ว หวานแจ้วเจื้อยเอย
ถึงจะหวาน เสนาะ หวานเพราะกระไรเลย บ่เหมือนทรามเชย...เราละหนอ...


นี่เอง เป็นเครื่องผ่อนคลายอารมณ์เศร้าของพระองค์ เป็นอนุสรณ์ เตือนจิตให้สะท้อนรัญจวนหวนคำนึงรำลึกถึงโฉมงามของเจ้าหญิง-ความรัก-ความหลัง คราใดที่ทรงรำลึกถึงเจ้าหญิงชมชื่นพระองค์ก็ทรงใช้ดนตรีเป็นเครื่องปลอบหฤทัยให้คลายเศร้า ถ้าไม่ทรงดนตรีเองก็ให้มหาดเล็กข้าหลวงเล่นให้ฟังด้วย ลาวเจริญศรี และลาวดวงเดือน ซึ่งขาดไม่ได้ตลอดชีวิตของพระองค์ท่าน

กรมหมื่นพิชัมหินทโรดม ทรงมีพระชนมายุน้อยมาก เนื่องจากทรงมีอารมณ์อ่อนไหวละเอียดอ่อน และประกอบกับพระวรกายไม่ค่อยบูรณ์แข็งแรงเท่าไรนัก อีกทั้งทรงหมกมุ่นกับหน้าที่การงาน เพื่อจะให้ลืมความหลังอันแสนเศร้าของพระองค์ที่ฝังใจอยู่ตลอดเวลา อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พระชนม์ชีพของพระองค์สั้นจนเกินไป พระองค์ด่วนสิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๓ พระชันษา ๒๘ ปีเท่านั้น

เพลงลาวดวงเดือน เพลงนี้ เป็นหลักฐานปรากฏผลงานการแต่งเพลงของพระองค์เพียงเพลงเดียวเท่านั้น เพราะไม่สามารถสืบทราบได้ว่าพระองค์ทรงแต่งเพลงใดขึ้นมาอีกหรือไม่ แม้ว่าจะทรงแต่งเพียงเพลงเดียว ลาวดวงเดือน ก็ดูเหมือนจะเป็นเพลงที่พระองค์ทรงประพันธ์ด้วยชีวิต จิตใจ และวิญญาณ ความรัก-ความหลัง ของพระองค์ทั้งหมดลงในเพลงนี้

เพลงลาวดวงเดือน เป็นเพลงอันประดุจอนุสรณ์แห่งความรักอมตะระหว่าง... พระองค์เจ้าชายเพ็ญกับเจ้าหญิงชมชื่นผู้เลอโฉม และจะเป็นเพลงรักหวานซาบซึ้งตรึงใจ อยู่ในห้วงหัวใจคนไทยทั้งชาติต่อไปอีกนานเท่านาน.


ข้อคิดจากเรื่อง


   เรื่องที่อ่านมีข้อคิดหลายประการ  ดังนี้

๑.ความประทับใจซาบซิ่งกับคนรัก  อารมณ์เศร้าว้าเหว่
๒.ผู้ชื่นชมผลงานศิลปะมิได้จำกัดแต่ว่าจะต้องเป็นผู้ที่อยู่ในสังคมเดียว
๓.การนำผลงานที่มีอยู่เดิมมาดัดเเปลงเสริมแต่งทำให้มีผลงานสร้างสรรค์เพิ่มมากขึ้น
๔.การศึกษาชีวประวัติของศิลปินจะทำให้ทราบที่มาของผลงานสิลปะ

วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา


           วันวิสาขบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ซึ่ง วันวิสาขบูชา 2556 ตรงกับวันที่ 24 พฤษภาคม 2556 ประวัติวันวิสาขบูชา ความสําคัญ วันวิสาขบูชา หมายถึง อะไรเรามีคำตอบ
           วันวิสาขบูชา 2556 ตรงกับวันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม ในปีนี้นับเป็นอภิลักขิตกาลพิเศษ คือเป็นปีที่ครบ 2,600 พุทธศตวรรษ หรือ 2,600 ปี แห่งการอุบัติขึ้นของพระพุทธศาสนา และเชื่อว่าทุกคนรู้จักชื่อวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอย่างวันวิสาขบูชากันดีอยู่แล้ว แต่จะมีสักกี่คนที่ทราบความเป็นมา และความสำคัญของ วันวิสาขบูชา ถ้างั้นอย่ารอช้า...เราไปค้นหาความหมายของ วันวิสาขบูชา และอ่าน ประวัติวันวิสาขบูชา พร้อมๆ กันดีกว่าครับ

 ความหมายของ วันวิสาขบูชา

         
 คำว่า วิสาขบูชา ย่อมาจากคำว่า "วิสาขปุรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" ดังนั้น วิสาขบูชา จึงหมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน 6

 การกำหนด วันวิสาขบูชา

          วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน แต่ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ กลางเดือน 7 หรือราวเดือนมิถุนายน

          อย่างไรก็ตาม ในบางปีของบางประเทศอาจกำหนด วันวิสาขบูชา ไม่ตรงกับของไทย เนื่องด้วยประเทศเหล่านั้นอยู่ในตำแหน่งที่ต่างไปจากประเทศไทย ทำให้วันเวลาคลาดเคลื่อนไปตามเวลาของประเทศนั้นๆ

ประวัติวันวิสาขบูชา และความสำคัญของ วันวิสาขบูชา

          วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่เกิด 3 เหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวียนมาบรรจบกันในวันเพ็ญเดือน 6 แม้จะมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี ซึ่งเหตุการณ์อัศจรรย์ 3 ประการ ได้แก่...

1. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ

          เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ พระนางแปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 80 ปี ครั้นพระกุมารประสูติได้ 5 วัน ก็ได้รับการถวายพระนามว่า "สิทธัตถะ" แปลว่า "สมปรารถนา"

          เมื่อข่าวการประสูติแพร่ไปถึงอสิตดาบส 4 ผู้อาศัยอยู่ในอาศรมเชิงเขาหิมาลัย และมีความคุ้นเคยกับพระเจ้าสุทโธทนะ ดาบสจึงเดินทางไปเข้าเฝ้า และเมื่อเห็นพระราชกุมารก็ทำนายได้ทันทีว่า นี่คือผู้จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงกล่าวพยากรณ์ว่า "พระราชกุมารนี้จักบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ เห็นแจ้งพระนิพพานอันบริสุทธิ์อย่างยิ่ง ทรงหวังประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก จะประกาศธรรมจักรพรหมจรรย์ของพระกุมารนี้จักแพร่หลาย" แล้วกราบลงแทบพระบาทของพระกุมาร พระเจ้าสุทโธทนะทอดพระเนตรเห็นเหตุการณ์นั้นทรงรู้สึกอัศจรรย์และเปี่ยมล้นด้วยปีติ ถึงกับทรุดพระองค์ลงอภิวาทพระราชกุมารตามอย่างดาบส



2. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิญาณ

          หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี จนเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา เจ้าชายสิทธัตถะก็ทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดของวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย

          สิ่งที่ตรัสรู้ คือ อริยสัจสี่ เป็นความจริงอันประเสริฐ 4 ประการของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปที่ต้นมหาโพธิ์ และทรงเจริญสมาธิภาวนาจนจิตเป็นสมาธิได้ฌานที่ 4 แล้วบำเพ็ญภาวนาต่อไปจนได้ฌาน 3 คือ
          
           ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุติญาณ " คือ ทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่นได้
          
 ยามสอง : ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ" คือ การรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ด้วยการมีตาทิพย์สามารถเห็นการจุติและอุบัติของวิญญาณทั้งหลาย
          
 ยามสาม หรือยามสุดท้าย : ทรงบรรลุ "อาสวักขญาณ" คือ รู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจ 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน 6 ซึ่งขณะนั้นพระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ 35 พรรษา